แผนแม่บทสถิติประเทศไทย
- รายละเอียด
- ผู้จัดการข้อมูล ณภัทร
“สถิติ” เป็นสิ่งสำคัญสำหรับระบบบริหารราชการไทย เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแล การติดตาม และการประเมินผลการดำเนินงานสำหรับการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยเริ่มมีการดำเนินงานเกี่ยวกับสถิติของประเทศมาเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี มีลักษณะเป็นระบบสถิติแบบกระจายงาน โดยมีสำนักงานสถิติแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วยสถิติกลางของประเทศที่ทำการผลิตสถิติในแทบทุกสาขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถิติที่ได้จากการสำมะโนและสำรวจ และมีหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ผลิตสถิติที่ได้จากการบริหารงาน งานทะเบียน และจากการผลิตสถิติตามความต้องการเฉพาะของหน่วยงาน จึงทำให้ประเทศไทยมีสถิติที่ผลิตขึ้นภายใต้การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐเป็นจำนวนมาก
แม้ว่าการผลิตสถิติภายใต้ระบบดังกล่าวมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการพัฒนาที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการพัฒนาเพื่อตอบสนองการใช้งานเฉพาะของแต่ละหน่วยงานเป็นหลัก โดยไม่มีการบริหารจัดการการผลิตสถิติอย่างเป็นระบบ มีความหลากหลายและแตกต่างของสถิติและสารสนเทศของภาครัฐนำมาซึ่งความสับสนต่อผู้ใช้ ซึ่งพบว่าเกิดความซ้ำซ้อนในการผลิตสถิติ มีการใช้งบประมาณอย่างสิ้นเปลือง เกิดความเหลื่อมล้ำด้านมาตรฐานสถิติและคุณภาพของงานด้านสถิติ และที่สำคัญคือขาดการบริหารจัดการในการบูรณาการเพื่อให้ประเทศมีสถิติที่สำคัญสำหรับใช้ในการจัดทำนโยบายและแผน และกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น เพื่อสร้างความชัดเจนทางสถิติและพัฒนาภารกิจงานข้อมูลและสารสนเทศของประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้ปรับบทบาทจากหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ “ผลิตสถิติ” ไปเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ “บริหารจัดการระบบสถิติของประเทศ” ตามที่พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้
- แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย พ.ศ.2554-2558
- แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2559-2564)
- พระราชบัญญัติ/มติคณะรัฐมนตรี
รูปแสดง การบริหารจัดการระบบสถิติประเทศไทย
มติคณะรัฐมนตรี
- วันที่ 28 ธันวาคม 2553 เรื่อง แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย พ.ศ.2554 - 2558
- วันที่ 4 เมษายน 2554 เรื่อง โครงการการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติ
- วันที่ 4 มิถุนายน 2556 เรื่อง การรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย พ.ศ.2554-2558